Wednesday, November 24, 2010

AI 613: Transaction Processing System (TPS)

            Transaction Processing System (TPS) เป็นระบบสารสนเทศที่ทำหน้าที่ในการรวบรวม และจัดระเบียบรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction) เป็นการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real Time) ช่วยในเรื่องของการทำงานที่มีลักษณะการทำงานที่ซ้ำๆ กัน (Repetitive) ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานหลักขององค์กรให้เป็นไปได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกข้อมูลวัสดุคงคลัง เป็นต้น TPS เปรียบเสมือนศูนย์กลางของการทำธุรกิจ สามารถช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจาก human error ได้ จึงเป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร TPS มีระบบการทำงานที่มีคุณสมบัติใน 3 ด้าน คือ
1. Reliability ระบบต้องมีความน่าเชื่อถือ
2. Standardization ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการใช้งาน
3. Controlled Access ป้องกันผู้ไม่เหมาะสมเข้ามาใช้งานในระบบ
ลักษณะสำคัญของระบบ TPS
1. สามารถรองรับการประมวลผลและการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมากได้
2. แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในองค์กร  
3. กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินงานเป็นประจำ
4. ต้องมีการประมวลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากปริมาณของข้อมูลนั้นมีมาก
5. ความซับซ้อนในการประมวลข้อมูลมีน้อย
6. ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปต้องมีลักษณะโครงสร้างที่ชัดเจน
7. TPS ต้องสามารถติดตามและรวบรวมข้อมูลนั้นๆ หลังจากที่มีการผลิตข้อมูลได้
8. มีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง
9. มีระบบรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
วงจรของการประมวลผล
1. Data Entry  การบันทึกข้อมูลเข้าไป Ex. POS
2. Transaction Processing การประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
            2.1 Batch การประมวลผลที่เก็บรวบรวมเป็นชุดๆ ไว้ก่อนแล้วค่อยประมวลครั้งเดียว เช่น ธนาคาร           
         2.2 Online/real-time การประมวลผลข้อมูลทันที เช่น การซื้อสินค้าออนไลน์
3. Data Base Updating เป็นการบันทึกข้อมูลและการจัดเก็บฐานข้อมูล โดยจะต้องคำนึงถึงความถูกต้อง และความเป็นปัจจุบันของข้อมูล
4. Document and Report การออกรายงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรายงานนี้เป็นเพียงการแสดงข้อมูลทั้งหมด ไม่ได้มีการประมวลผลที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า หรือรายชื่อต่างๆ เป็นต้น
5. Inquiry procession กระบวนการรับคำร้องและสอบถามข้อมูล
ตัวอย่างการนำระบบ TPS มาใช้งาน
1. Accounting Information System สนับสนุนการทำบัญชี และใช้ในการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น จัดทำบัญชีแยกประเภท ประมวลผลคำสั่งซื้อ เป็นต้น
2. Marketing Information System สนับสนุนการรวบรวมข้อมูลและประมวลผลทางการตลาด เช่น การจัดการฐานข้อมูลลูกค้า ระบบสารสนเทศงานขาย เป็นต้น
3. Human Resource Information System สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล เช่น การวางแผนการจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน เป็นต้น
4. Web Analytic Tool เครื่องมือที่ใช้การเก็บข้อมูลจาก Internet ของผู้ใช้งาน เพื่อนำมาประมวลผลต่อไป
5. In House Logistic and Material Management เป็นระบบที่ช่วยจัดการด้าน supply chain เช่น การสั่งสินค้า เบิกสินค้า รับสินค้า และส่งสินค้าให้ลูกค้า เป็นต้น
6. E-Procurement เป็นระบบการสั่งซื้อสินค้าที่ใช้เป็นประจำกับบริษัทคู่ค้า ช่วยทำให้ประหยัดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า และลดการ Overstock ได้

IT Hype Cycle

Radio Frequency Identification (RFID)
            ระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ Auto- ID แบบไร้สาย (Wireless) ทำหน้าที่ระบุลักษณะข้อมูลของสิ่งต่างๆโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุในการแสกนข้อมูล ซึ่งมีขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระดับที่น่าเชื่อถือ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
1. Tag ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลลักษณะสำคัญต่างๆ เอาไว้ และส่งสัญญาณวิทยุออกไป
2. Reader ทำหน้าที่รับข้อมูล ถอดรหัส และติดต่อ Computer
Speech Recognition
            ระบบที่สามารถแปลงเสียงพูดให้เป็นข้อความ หรือแปลงเป็นคำสั่งต่างๆ ได้ สามารถช่วยในการบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกกับผู้ที่ใช้งานในการพิมพ์ไม่คล่อง ข้อเสียของระบบนี้ คือ ระบบต้องปราศจากเสียงรบกวน อาจมีปัญหาสำหรับคำที่ออกเสียงหรือมีการเน้นเสียงคล้ายกัน ดังนั้นต้องมีการออกอักขระให้ถูกต้องชัดเจน ไม่อย่างนั้นอาจเกิดข้อผิดพลาดได้
Virtualization
          ระบบเครือข่ายเสมือน ที่ทำให้เครื่องแม่ใช้ระบบปฏิบัติการได้หลายระบบในเครื่องเดียวกัน โดยจะมีการสร้าง Layer ของการเชื่อมต่อกับ Hardware ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการให้ระบบสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแนวทางเดียวกับ GREEN IT ที่ลดการใช้พลังงานจากการใช้ IT ด้วย
             









No comments:

Post a Comment